วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

ข่าวจาก Web of Science








Web of Science  มีข่าวมาประชาสัมพันธ์ ว่าได้เพิ่ม resource ให้มากกว่าเดิมและสามารถดู impact factor ของวารสารที่มีการนำผลงานท่านไปอ้างถึงได้ โดยดูเพิ่มเติมตามนี้ค่ะ

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

ข่าวดี ! ...สกอ.บอกรับฐานข้อมูล 13 ฐานให้ใช้กันได้อย่างทั่วถึง

.
เป็นที่ยินดีที่สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)ได้ดำเนินการบอกรับฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้นจำนวนทั้งสิ้น 13 ฐานข้อมูล เพื่อให้บริการกับนิสิต นักศึกษา คณาจารย์และนักวิจัย มหาวิทยาลัย/สถาบัน ในสังกัด/กำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาดังนี้







1. ABI/Inform Complete (ฐานข้อมูลด้านธุรกิจ)

2. ACM Digital Library (ฐานข้อมูลด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ)

3. H.W Wilson (ฐานข้อมูลดรรชนี สาระสังเขป)

4. IEEE/IET Electronic Library(IEL) (ฐานข้อมูลด้านวิศวกรรม)

5. ProQuest Dissertations&Theses (ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ระดับป.โท และป.เอก)

6. SpringerLink-Journal (ฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ)

7. Web of Science (ฐานข้อมูลบรรณานุกรม)

8. Academic Search Premier (ฐานข้อมูลสหสาขาวิชา)

9. Education research Complete (ฐานข้อมูลด้านการศึกษา)

10. Computer&Applied Sciences Complete ( ฐานข้อมูลด้านคอมพิวเตอร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์)

11. Emerald Management ( ฐานข้อมูลด้านการจัดการ)

12. ScienceDirect ( ฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ สุขภาพ มนุษย์ศาสตร์)

13. American Chamical Society Journal(ASC) (ฐานข้อมูลบทความและวิจัยด้านเคมี)
โดยให้เข้าได้ตั้งแต่ พย.2553 แล้วและเพิ่มจนครบ 13 ฐาน 1 มค. 2554 และสามารถตรวจสอบสถิติการใช้งานฐานข้อมูลฯได้ที่ http://www.thailis.uni.net.th/RDreport.php ซึ่งสถิติของการใช้งานฐานข้อมูลดังกล่าวจะมีผลต่อการพิจารณาการบอกรับฐานข้อมูลฯ ในงบประมาณ 2555 ดังนั้นขอเชิญชวนให้ช่วยใช้ด้วยค่ะ
.

ข่าวด่วน! ... VPN ของ ม.มหิดลเปิดบริการแล้ว

.
เนื่องจากปัจจุบันนี้ Hi Speed Internet มีการใช้อย่างแพร่หลาย
และมีความสะดวกในการเข้าถึงฐานข้อมูลและวารสารอิเล็กทรอนิกส์
ได้อย่างรวดเร็ว ทาง ม.มหิดลได้เล็งเห็นความสำคัญนี้
จึงได้เปิดบริการระบบ VPN  (Virtual Private Network)
สามารถเข้าใช้บริการได้ที่ VPN





สำหรับผู้ที่ใช้เว็บไซต์ของห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีนั้นเราได้เพิ่ม VPN นี้ให้ผู้ใช้บริการด้วยเช่นกันทั้งนี้เพื่ออำนวบความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการมากขึ้น โดบเปิดใช้ที่ Top Menu ชื่อ E-Collections และที่ Main Menu  ชื่อ E-books E-Theses , E- Databases   และ E-Journals


.

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำฐานข้อมูลให้ฟรี NHS Evidence

.







ขอแนะนำให้ใช้ฐานข้อมูลให้ฟรี NHS Evidence   ซึ่งพัฒนาโดย National Institute for Health and Clinical Excellence ประเทศอังกฤษ เป็นฐานข้อมูลทาง health and social care ให้ใช้ฟรี ใช้ได้ง่าย รวดเร็ว มีเมนูช่วยคัดกรองการสืบค้นให้ผู้ใช้บริการเลือก คือ  Area of Interest, Type of information,    Clinical Queries, Sources, Medicines and Devices และ Published Date

เรื่องแจ้งจากฐานข้อมูล

.
          ตามที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้บอกรับฐานข้อมูลด้านการแพทย์ต่างๆนั้น ขณะนี้
มีบางฐานได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเข้าถึง ได้แก่ ฐานข้อมูล Primal Pictures ซึ่งเป็น
ฐานข้อมูลทางด้านกายภาพในรูปแบบสามมิติ  สามารถเข้าถึงได้โดยเข้าจากฐานข้อมูล OVID
และไปที่เมนูด้านบนเลือก External Links


 .         

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เชิญบุคลากรคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ทดลองใช้ฐานข้อมูล Procedure Consult

.
สืบเนื่องจากมีผู้ใช้ในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลจำนวนมาก สนใจใช้ฐานข้อมูล Procedure Consult ซึ่งเป็นฐานข้อมูลทางการแพทย์ในรูปแบบการปฏิบัติการ ออกแบบโดยสำนักพิมพ์ Elsevier
ฐานข้อมูลนี้ถูกออกแบบให้ใช้งานที่ครอบคลุมตามสาขาวิชา 7 สาขา คือ Anesthesia Emergency Medicine General Practice Orthopedic surgery and pediatrics โดยแต่ละสาขา ประกอบด้วย VDO พร้อมบรรยาย เนื้อหาและรูปภาพประกอบตั้งแต่การเตรียมอุปกรณ์ วิธีการรักษาในเรื่องนั้นๆและขั้นตอนหลังการรักษาพร้อมทั้งแบบฝึกหัดทบทวน

ดังนั้นบริษัทจึงเปิดให้ทดลองใช้อีกครั้งเป็นเวลา 2 เดือน ตั้งแต่ 4 ตุลาคม 2553 – 4 ธันวาคม 2553 ที่ http://app.proceduresconsult.com/Learner/Default.aspx

.

PubGet ปรับปรุงใหม่

.
ตามที่เคยแจ้งข่าว PubGet ว่าเป็นฐานข้อมูลคล้าย PubMed แต่ PubGet ช่วยให้ผู้ใช้บริการได้การเปิด PDF ไฟล์มีความสะดวกขึ้นและประหย้ดเวลาขึ้น

ขณะนี้ PubGet ซึ่งจัดทำโดย NLM ได้พัฒนาการเปิด PDF ได้ง่ายกว่าเดิมขึ้น โดยมีเมนูให้เลือกระบุเป็น PDF ให้ รวมทั้งมีเมนูการสืบค้นระดับ Advance อื่นๆให้ นับว่าน่าสนใจมาก รวมทั้งการใช้โทรศัพท์มือถือ ในการเข้าใช้ PubGet  เชิญทุกท่านเข้าใช้ได้ค่ะ
.