ฐานข้อมูล UpToDate เป็นฐานข้อมูลทาง EBM ที่ได้รับการจัดไว้เป็นประเภท summaries of the primary evidence ที่ใช้ง่าย ทันสมัย มีการปรับข้อมูลรวดเร็ว น่าเชื่อถือเพราะมีผู้เขียนที่ทรงคุณวุฒิทั่วโลกมากกว่า 3,000 คน เป็นที่นิยมใช้ทั่วโลก เป็นที่ยอมรับว่าเป็นฐานข้อมูลที่ดีทาง EBM
บทความมีลักษณะเป็นการ review เชิงลึก เหมาะสำหรับแพทย์ใช้ประกอบทางเวชปฏิบัติ บทความมีมากถึง 40,000 หน้า รวมถึง graphic มากกว่า 8,000 รูป นอกจากนั้นยังมีฐานข้อมูลทางยาและ MEDLINE ให้ใช้ด้วย ขณะนี้ฐานข้อมูลUpToDateปรับเป็น release ทื่ 18.1 แล้ว โดยเพิ่มสาขา Allergy & Immunology มาอีก 1 สาขา
.
บริการสารสนเทศทางการแพทย์และพยาบาลที่เรายินดีมอบให้แก่ท่าน
วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2553
EndNote Version X3 กับการดึง Full Text จากการ Online ทันที
โปรแกรม EndNote คือ โปรแกรมสำหรับจัดทำบรรณานุกรมซึ่งเป็นที่นิยมทั่วโลก จะเห็นได้จากการที่ฐานข้อมูลออนไลน์และวารสารออนไลน์ต่างๆ ส่วนใหญ่จะรองรับโปรแกรม EndNote โปรแกรม EndNote จะช่วยลดภาระยุ่งยากในการเขียนรายการบรรณานุกรมท้ายบทความหรืองานวิจัยได้ดีมาก และสามารถจัดเก็บเอกสารฉบับเต็ม(Full Text) เป็นไฟล์รูปแบบ PDF รูปแบบDocument รวมถึงมีการจัดเก็บภาพได้ดี
โปรแกรม EndNote ได้พัฒนาปรับ Version ใหม่ทุกปี ขณะนี้ปรับเป็น Version ลำดับที่ 13 หรือ เรียกกันว่า X3 ในการใช้งานโปรแกรม EndNote Version X3 นี้ผู้ใช้โปรแกรมจะต้องสร้างไฟล์ (Library) เป็นของตนเองมีนามสกุลว่า .enl และสามารถบันทึกรายการบรรณานุกรมผู้ได้โดยไม่จำกัดจำนวน ผู้ใช้บันทึกรายการบรรณานุกรม (References)ได้ 2 วิธี คือการบันทึกรายการบรรณานุกรมด้วยมือ (Manual) และการถ่ายรายการบรรณานุกรมจากฐานข้อมูลออนไลน์ต่าง ๆ เช่น PubMed, Ovid และอื่นๆ รวมทั้งรายการสิ่งพิมพ์ของห้องสมุด(Library Catalog) ด้วยวิธี Import, Export และ Online Search อีกทั้งการทำ HotSync กับPalm OS
ในการทำรายการบรรณานุกรมท้ายบทความหรืองานวิจัยนั้นทำได้ไม่ยากโดยนำรายการบรรณานุกรมที่ได้บันทึกแล้วไปทำการอ้างถึงในบทความหรือรายงาน (Insert Citation) หลังจากนั้นปรับรายการบรรณานุกรมให้เป็นรูปแบบที่ต้องการ (Format Bibliography) โปรแกรม EndNote Version X3 มีรูปแบบบรรณานุกรมให้ใช้มากกว่า 3,700 รูปแบบในทุกสาขาวิชา ได้แก่ การแพทย์ สังคมศาสตร์ การศึกษา เป็นต้น เช่น Vancouver style , APA style เป็นต้น นอกจากนั้นในการถ่ายรายการบรรณานุกรมจากฐานข้อมูลออนไลน์ต่าง ๆและรายการสิ่งพิมพ์ของห้องสมุด (Import Filters และ Online Connection Files ) มีมากกว่า 700 Import Filters และ 3,900 Connection Files เช่นเดียวกัน
โปรแกรม EndNote Version X3 ใช้ทำบรรณานุกรมเป็นภาษาไทยได้ดีขึ้น ในการเขียนบทความหรืองานวิจัยนั้นโปรแกรม EndNote ทำงานร่วมกับ Microsoft Word และ MacIntosch ซึ่งต้องติดตั้งก่อนติดตั้งโปรแกรมนี้
ข้อควรทราบ ในการใช้คำสั่ง Find Full Text นั้นจะได้ FUll Text เฉพาะจากการ Online Search จาก PubMed แม้แต่การ Import จาก PubMed ก็ตาม จะไม่ได้ Full Text เพราะการ Import ไม่มี URL ดังนั้นจากการ Import จะได้ Full Text นั้นต้องใช้ Insert File แบบ Version ก่อนๆ
บุคลากรชาวรามาธิบดีคุ้นเคยกับการใช้โปรแกรมนี้มานานแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2545 แต่ขณะนี้มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดซื้อโปรแกรม EndNote version X3 ให้ได้ไช้กันอย่างสะดวกขึ้นโดยการ Download แล้วเลือก application ผ่าน Website ของมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคู่มือการใช้ อย่างไรก็ตาม ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดียินดีที่จะให้บริการในการอธิบายวิธีการ Download และการใช้โปรแกรมนี้รวมทั้งฝึกอบรมบุคลากรในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
.
โปรแกรม EndNote ได้พัฒนาปรับ Version ใหม่ทุกปี ขณะนี้ปรับเป็น Version ลำดับที่ 13 หรือ เรียกกันว่า X3 ในการใช้งานโปรแกรม EndNote Version X3 นี้ผู้ใช้โปรแกรมจะต้องสร้างไฟล์ (Library) เป็นของตนเองมีนามสกุลว่า .enl และสามารถบันทึกรายการบรรณานุกรมผู้ได้โดยไม่จำกัดจำนวน ผู้ใช้บันทึกรายการบรรณานุกรม (References)ได้ 2 วิธี คือการบันทึกรายการบรรณานุกรมด้วยมือ (Manual) และการถ่ายรายการบรรณานุกรมจากฐานข้อมูลออนไลน์ต่าง ๆ เช่น PubMed, Ovid และอื่นๆ รวมทั้งรายการสิ่งพิมพ์ของห้องสมุด(Library Catalog) ด้วยวิธี Import, Export และ Online Search อีกทั้งการทำ HotSync กับPalm OS
ในการทำรายการบรรณานุกรมท้ายบทความหรืองานวิจัยนั้นทำได้ไม่ยากโดยนำรายการบรรณานุกรมที่ได้บันทึกแล้วไปทำการอ้างถึงในบทความหรือรายงาน (Insert Citation) หลังจากนั้นปรับรายการบรรณานุกรมให้เป็นรูปแบบที่ต้องการ (Format Bibliography) โปรแกรม EndNote Version X3 มีรูปแบบบรรณานุกรมให้ใช้มากกว่า 3,700 รูปแบบในทุกสาขาวิชา ได้แก่ การแพทย์ สังคมศาสตร์ การศึกษา เป็นต้น เช่น Vancouver style , APA style เป็นต้น นอกจากนั้นในการถ่ายรายการบรรณานุกรมจากฐานข้อมูลออนไลน์ต่าง ๆและรายการสิ่งพิมพ์ของห้องสมุด (Import Filters และ Online Connection Files ) มีมากกว่า 700 Import Filters และ 3,900 Connection Files เช่นเดียวกัน
โปรแกรม EndNote Version X3 ใช้ทำบรรณานุกรมเป็นภาษาไทยได้ดีขึ้น ในการเขียนบทความหรืองานวิจัยนั้นโปรแกรม EndNote ทำงานร่วมกับ Microsoft Word และ MacIntosch ซึ่งต้องติดตั้งก่อนติดตั้งโปรแกรมนี้
ข้อควรทราบ ในการใช้คำสั่ง Find Full Text นั้นจะได้ FUll Text เฉพาะจากการ Online Search จาก PubMed แม้แต่การ Import จาก PubMed ก็ตาม จะไม่ได้ Full Text เพราะการ Import ไม่มี URL ดังนั้นจากการ Import จะได้ Full Text นั้นต้องใช้ Insert File แบบ Version ก่อนๆ
บุคลากรชาวรามาธิบดีคุ้นเคยกับการใช้โปรแกรมนี้มานานแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2545 แต่ขณะนี้มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดซื้อโปรแกรม EndNote version X3 ให้ได้ไช้กันอย่างสะดวกขึ้นโดยการ Download แล้วเลือก application ผ่าน Website ของมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคู่มือการใช้ อย่างไรก็ตาม ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดียินดีที่จะให้บริการในการอธิบายวิธีการ Download และการใช้โปรแกรมนี้รวมทั้งฝึกอบรมบุคลากรในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
.
keyword:
บรรณานุกรม,
ห้องสมุดคณะแพทย์,
ห้องสมุดแพทย์รามาฯ,
endnote,
endnotex3,
full text
วันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2553
EBM:เวลาเป็นอุปสรรคของแพทย์ผู้ใช้
"EBM" หรือ Evidence-Based Medicine คือ การนำหลักฐานหรืองานวิจัยที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดเท่าที่จะหาได้มาใช้ในการพิจารณาเลือกวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยร่วมกับประสบการณ์หรือความชำนาญของแพทย์และความเชื่อ/ค่านิยมของผู้ป่วยและความเหมาะสมอื่นๆ
EBM มีผลกระทบต่อแพทย์ไทยอยู่ไม่น้อย..........เพราะแนวคิดของ EBM เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) โดยการสืบค้นหลักฐาน (Evidence) มาใช้ร่วมกับประสบการณ์ของแพทย์และความเหมาะสมต่างๆ .... ถ้าท่านเข้าใจ EBM จะพบว่าขั้นตอนที่สำคัญหนึ่งของกระบวนการใน EBM คือ การสืบค้นหลักฐานที่ดีที่สุดให้ตรงกับอาการของผู้ป่วยรายที่ต้องการรักษา.......อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยหลายชิ้นศึกษาพบว่า แพทย์มีอุปสรรคด้านเวลา กล่าวคือ แพทย์ไม่มีเวลามากพอที่จะสืบค้นข้อมูล...... อีกทั้งขาดฐานข้อมูลที่สนับสนุนในการสืบค้นงานวิจัยทาง EBM อ่านข้อมูลเพิ่มที่นี่
.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)