วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

EndNote versionX4 : ออกปรากฏโฉมแล้ว

.


เป็นที่ทราบกันดีว่า โปรแกรม EndNote เป็นโปรแกรมสำหรับจัดทำบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมมากโปรแกรมหนึ่งในกลุ่มนักวิจัย นักศึกษา อาจารย์ และนักสารสนเทศทั่วโลก

ขณะนี้บริษัท Reuters Thomson EndNote ได้ผลิต EndNote versionX4 ให้ผู้สนใจได้ใช้กันแล้ว (เมื่อ 15 มิถุนายน 2553)  ในแต่ละปี บริษัท Reuters Thomson EndNote จะพัฒนาโปรแกรม EndNote ให้รองรับความต้องการของผู้ใช้ตลอดมา และ VersionX4 ก็เช่นเดียวกัน มีการเสริมส่วนดีๆที่น่าสนใจมากขึ้น เช่น มีการปรับให้สามารถ Import ไฟล์ PDF ทั้งแบบเดี่ยวและแบบ Folder ได้ดี มีการปรับการจัดกลุ่มให้ดีขึ้น รวมทั้งมี รูปแบบบรรณานุกรม สไตล์ APA edition 6 ให้ปรับใช้ได้เช่นกัน เป็นต้น และอื่นๆอีกมากมาย จะมีอะไรใหม่ใน EndNote VersionX4 นี้บ้าง โปรดศึกษาข้อมูลรายละเอียด ดังนี้

ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมนี้ใช้ได้ โดยใช้ได้นาน 1 เดือนเท่านั้นที่ trial  สำหรับชาวมหาวิทยาลัยมหิดลสามารถดาวน์โหลดโปรแกรม EndNote X4 ได้    เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดลคำนึงถีงประโยชน์ในการใช้โปรแกรมนี้ประกอบการเรียน การสอน การวิจัย จึงบอกรับโปรแกรม EndNote VersionX4  ให้ใช้ได้ทันใจ   และดาวน์โหลดใช้ได้ที่ นี่
.

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

PubGet ไม่ใช่ PubMed: ก็ตามแต่ช่วยให้ได้ PDF รวดเร็วมากขึ้น

.
เมื่อครั้งที่ไปนำเสนอผลงานที่การประชุมนานาชาติ ของ Clinical Librarian ที่ Brisbane ในปี 2009 มีบรรณารักษ์ 2 ท่านจาก NLM มาแนะนำ Search Engine ชื่อคล้าย PubMed แต่ยังอยู่ในขั้นทดลอง ซื่งขณะนี้ได้นำออกให้บริการแล้วและใช้ได้ดี จึงขอแนะนำท่านใช้ Search Engine นี้ค่ะ http://pubget.com/



ฐานนี้เชื่อมต่อกับฐานอื่นๆและ PubMed แต่ช่วยให้เราที่สืบค้นงานวิจัยทางสาขา life sciences รวดเร็วขึ้น โดยได้เอกสารในรูปแบบ PDF มากกว่า 20 ล้านฉบับ ในเวลาสั้นๆ มีวิธีการสืบค้นแบบง่ายและแบบขั้นสูงเหมือน PubMed โดยสามารถเลือกประเภทของ field ที่สืบค้นได้มากมาย เช่น MeSH, Author เป็นต้น รวมทั้งใช้ AND OR NOT เชื่อมการสืบค้นค้น เมื่อได้ผลการสืบค้นแล้วจะปรากฏ สัญลักษณ์ PDF เป็นสีแดงชัดเจนให้เห็น เมื่อนำเม้าส์ไปเลือกรายการที่ต้องการท่านจะได้ PDF ทันที (ถ้าไม่ได้ PDFจะปรากฎคำว่า “buy”) ในการที่จะได้ PDF ตามที่สถาบันของท่านบรรณารักษ์ต้องลงทะเบียนก่อนที่เมนู  Activate your institution
.

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ProQuest: ให้บริการวิทยานิพนธ์ทางด้านการพยาบาลในรูป Full Text

 .
ฐานข้อมูล ProQuest Nursing & Allied Health Source  เป็นฐานข้อมูลทางพยาบาลและสาธารณสุขศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยมหิดลบอกรับ  ประกอบด้วย บทความวิชาการ นิตยสาร งานวิจัยทาง Evidence-Based Nursing และวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจำนวนมาก และอื่นๆที่มีประโยชน์ในการเรียน การสอน การฝึกอบรม เหมาะสำหรับพยาบาลทุกระดับ
นการใช้งานให้ใช้ที่หน้าหลัก (Main Search Page)  รวมทั้งมีการสืบค้นขั้นสูง (Advanced Search) โดยเพิ่มขอบเขตการสืบค้นเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้มีความเจาะจงยิ่งขึ้น และThesaurus ซึ่งเป็นหัวเรื่องที่ทาง ProQuest กำหนดให้ไว้เพื่อช่วยให้เนื้อหาที่สืบค้นได้จากฐานข้อมูลนี้จำกกัดได้ตรงตามทั้ต้องการมากขึ้น

ผู้ใช้บริการที่สนใจ EBN - Evidence-Based Nursing จะได้ใช้ featureที่น่าสนใจ คือ   1) Evidence Summary 2) Systematic Reviews 3) Best Practice Information Sheets 4) เครื่องมือ RAPid เพื่อช่วยนักเรียนนักศึกษาในการจัดเก็บข้อมูล 5) เครื่องมือ SUMARI เพื่อช่วยอาจารย์ นักวิจัยในการเรียบเรียงผลงานวิชาการในเชิง Systematic reviews จากสถาบัน Joanna Briggs Institute ประเทศออสเตรเลีย

นอกจากนั้นยังมีรายการเอกสาร Cultural Competency Briefs: Religion, Ethnicity and Care ซึ่งรายการบทความแสดงแนวความคิด คุณค่า ความเชื่อ การแพทย์สาธารณสุข และคตินิยมพื้นถิ่นกว่า 30 ชาติพันธุ์ และ 11 ศาสนา และยังมีรายการวิดีโดอบรมทักษะการพยาบาลกว่า 300 รายการ ครอบคลุมเนื้อหาทางด้าน Assessment, Procedure, Management, Anatomy, Prevention และอื่น ๆ
.

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โปรแกรม Turnitin: ช่วยป้องกันการลอกเลียนผลงานทางวรรณกรรม



โปรแกรม Turnitin อ่านว่า Turn it in เป็นโปรแกรมที่ นอกจากช่วยลดปัญหา plagiarism  (plagiarism คือ การขโมยผลงาน ลอกเลียนผลงานการเขียนของคนอื่น) ด้วยการตรวจสอบการลอกเลียนผลงานการเขียนทางวิชาการและงานเขียนอื่นๆแล้ว แล้วยังสามารถใช้เป็นโปรแกรมประกอบการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี  โดยอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาสามารถใช้ตรวจสอบการส่งรายงานของนักศึกษาได้ว่ามีการลอกกันในวิชานั้นๆหรือไม่ ซึ่งในโปรแกรมจะแบ่งสถานะเป็น instructor และ student

 โปรแกรมนี้ใช้ง่าย มีการปรับปรุงให้เอื้อต่อการใช้ให้ดีขึ้น มีการปรับโฉมใหม่ครั้งสำคัญ  เมื่อเดือน มกราคม 2510  เปิดตัวการพัฒนารูปลักษณ์ และปรับปรุงการให้บริการใหม่หลากหลายรายการ คือ GradeMark, Peer Review และ PeerMark รวมทั้งปรับเปลี่ยนแดชบอร์ดของผู้สอนเป็นรูปแบบใหม่สำหรับการจัดการการบ้านทั้งหมดและมีการเปลี่ยนแปลงหน้าจอของ "New Assignment"



มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดซื้อโปรแกรมนี้มาเพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยฯได้ใช้ประโยชน์มาประมาณ 2 ปีแล้ว และบุคลากรของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลราามาธิบดีได้้ใช้ประโยชน์ของโปรแกรมนี้มาตลอด เช่น  ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ หรือหลักสูตรความผิดปกติของการสื่อความหมาย เป็นต้น พบว่าอำนวยความสะดวกมากทั้งผู้เรียนและผู้สอน  จึงขอเชิญชวนใช้โปรแกรมนี้ ที่นี่

ขอเชิญชวนบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลใช้โปรแกรมที่มีประโยชน์นี้ ท่านใดยังไม่เคยลงทะเบียนให้ เลือกที่ create  account และติดต่อขอ login/password ของมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ห้องสมุดในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดลทุกแห่ง
.